31.1.54

สีรถนั้น..สำคัญไฉน

                ถ้าพูดถึงรถยนต์คันงามของหลายๆคนเเล้วส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่นอกเหนือจากรูปร่างหน้าตาของตัวรถแล้วสิ่งที่จะขาดไม่ได้ที่เราจะกล่าวถึงก็คือ ความเงางามของตัวรถหรือสีรถนั่นเอง ซึ่งนอกจากสีรถนั้นจะสร้างความสวยงามให้กับตัวรถเเละความดูดีมีระดับเเล้วเเต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ประกอบรวมกันขึ้นเป็นสีรถที่สร้างความงดงามสะดุดตาใครต่อใครหลายๆคนซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้รถยนต์โดยส่วนใหญ่ที่มักจะมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับสีรถหรือองค์ประกอบของสีรถอย่างลึกซึ้งว่าสีรถนั้นมีองค์ประกอบที่มารวมกันเป็นเนื้อสีที่สร้างสีสันงดงามเวลาที่เราขับขี่ได้อย่างไรโดยถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสีรถที่ถูกต้องแล้วหละ่ก็เราก็จะสามารถดูแลรักษาสีรถได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อรักษาสีรถไว้ได้อย่างยั้งยืนนาน





   โดยทั่วไปเราแบ่งสีพ่นรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

   1. สี 1K

        คือ สีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวทำละลายที่นำมาผสมนี้ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากตัวทำละลายจะระเหยตัวออกไปจนหมดหลังการใช้งาน เหลือเพียงฟิล์มสีที่แห้งตัวแล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว เราจะเข้าใจว่าสี 1K หมายถึง "สีแห้งเร็ว" ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากสี 1K มีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่

    สี 1K ซินเทติกอีนาเมล หรือสีน้ำมัน เป็นสี 1K แบบแห้งตัวช้า ซึ่งแห้งตัวโดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ (Oxidation)

    สี 1K ไนโตรเซลลูโลส เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว   ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)

    สี 1K อะคริลิค เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)

2. สี OEM

              คือสีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียวในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น สีชนิดนี้จะแห้งตัวโดยการการอบที่อุณหภูมิสูงประมาณ 120-160 oC จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สีอบ" (High Bake Paint) หลังจากสีแห้งตัวแล้ว จะมีฟิล์มสีที่มีคุณภาพดีมาก ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง  มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงาที่ดี มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก
 
ห้องอบสีที่ใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์โดยใช้สีมาตรฐาน OEM

  3. สี 2K 

            คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying)
สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ "อีพ็อกซี่" และสี 2K แบบ "โพลียูรีเทน" (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณสมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูงมีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์หรือน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้ดีมากและทนทานต่อสารเคมีต่างๆเช่นน้ำมันเบรกได้ดีนอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยมให้ความเงางามสูงมีเนื้อสีมากรวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดีจึงไม่ซีดจางง่ายมีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก กล่าวคือมีคุณสมบัติที่เทียบเคียงได้กับสี OEM


ห้องพ่นสีรถยนต์โดยใช้มาตรฐานสี 2k


สี 2K มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ

1.   ส่วนที่เป็นเนื้อสี
            จะเกิดมาจากส่วนผสมหลัก 4 ส่วน ซึ่งรวมกันเป็นเนื้อเดียวและอยู่ในกระป๋องเดียวกันแล้ว คือ
a.   กาว หรือเรซิ่น (RESIN) หรืออาจเรียกว่า BINDER หรือ FILM FORMER ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของส่วนประกอบอื่นๆ  ของสี  เมื่อสีแห้งแล้ว เรซิ่นจะเกาะตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นเนื้อฟิล์มขึ้น ซึ่งเรซิ่นที่ใช้ในสีประเภทนี้คือ โพลียูรีเทน ที่มีคุณสมบัติเด่นหลายอย่าง เช่น ความเงา  ความแข็ง  การยึดเกาะ  การทนต่อสารเคมี  ทนต่อความชื้น  เป็นต้น
b.   ผงสี  (PIGMENT)  เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปกปิดพื้นผิว  และทำให้เกิดสีสันต่างๆ เช่นดำ แดง เหลือง เขียว หรืออาจใช้กันสนิมได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่เป็นเคลียร์ที่ใช้เคลือบเงา จะไม่มีผงสีผสมอยู่
c.   ตัวทำ ละลาย  (SOLVENT)  ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผงสีและเรซิ่น กระจายตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน  ทั้งยังทำหน้าที่ในการเจือจางหรือปรับความข้นเหลวของสีให้เหมาะสมสำหรับการ ใช้งาน ด้วย
d.   สารปรับแต่ง  (ADDITIVE)  เป็นส่วนประกอบที่หน้าที่เพิ่มคุณสมบัติหรือลดข้อด้อยบางอย่างของสี  เช่น ช่วยให้ฟิล์มเรียบขึ้น  ช่วยป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์  ช่วยป้องกันการแยกตัวของผงสีและเรซิ่น  ป้องกันการตกตะกอน เป็นต้น

2.   ส่วนที่เป็นตัวเร่งที่ทำให้สีแข็งตัว (Hardener หรือ  Activator)

       ส่วนนี้จะแยกออกจากส่วนแรกโดยเด็ดขาด เมื่อจะนำสีไปใช้งานจึงค่อยผสมส่วนนี้ลงไป และน้ำยานี้ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากถ้าไม่ใส่น้ำยานี้เข้าไปในสีและนำสีไปใช้ สีจะไม่แห้งแข็งเป็นฟิล์ม ซึ่งน้ำยานี้ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของไอโซไซยาเนท (Isocyanate)

สี 2K ดูปองท์ (DuPont)

             เป็นสี 2K ชั้นนำในวงการสีพ่นรถยนต์ จากประเทศสหรัฐ อเมริกา โดยเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ดี ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานสูงสุด และการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน จึงส่งผลให้สี ดูปองท์ เป็นสีพ่นรถยนต์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม และเป็นที่นิยมอย่างสูง จนส่งผลให้สี ดูปองท์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากศูนย์ซ่อมสีชั้นนำทั่วโลก

     นอกจากนี้ดูปองท์ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมเนื่องจากสารระเหยที่เกิดจากกระบวนการพ่นสีนั้น สามารถทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ทำให้สภาพบรรยากาศของโลกเกิดการเสียหายได้ ดูปองท์ จึงพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีปริมาณสารระเหยต่ำ (Low Emission; LE) และ สีสูตรผสมน้ำ (Waterborne Paint) ซึ่งเป็นสีที่มีปริมาณสารระเหยต่ำมากจึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

        ทีนี้เราคงจะทราบถึงรายละเอียดของสี ประเภทของสีรวมถึงส่วนประกอบของสีกันบ้างแล้วซึ่งการเลือกใช้งานของสีในแต่ละ่ประเภทก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือรายละเอียดของงานที่จะใช้เเต่ในท้ายที่สุดเเล้วถ้าเราๆท่านๆไม่หมั่นดูเเลหรือหมั่นทำความสอาดสีรถเเล้วหละ่ก็ต่อให้สีมีคุณสมบัติดีแค่ไหนก็คงจะต้องเสื่อมสภาพหรือหมดสภาพลงไปอย่างแน่นอน

วิเคราะห์รถใหม่
NEW TOYOTA PRIUS เป็นรถยนต์นั้งอเนกประสงค์แบบสมบูรณ์แบบโดย TOYOTA PRIUS นี้ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีพื้นฐานหรือต่อยอดมาจากรถยนต์ TOYOTA WISH แต่ TOYOTA PRIUS ได้เพิ่มการทำงานของระบบขับเคลื่อนมาเป็นแบบ HYBRID เพื่อเน้นทางด้านของการอนุรักษ์และการประหยัดพลังงานเป็นหลักแต่ในส่วนของ อัตราการขับเคลื่อนหรืออัตราการเร่งแซงไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่าง
NEW HONDA BRIO เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปรหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่ผลิตมาโดยอาศัยมาตรฐานรถยนต์ " อีโคคาร์ " เป็นเกณฑ์ในการผลิตจึงมั่นใจได้ว่าสามารถลดการใช้พลังงานหรือเผาผลาญได้ อย่างแน่นอนโดยสเปกหรือภาพโดยรวมของตัวรถเนี้ยจะเป็นรถยนต์ที่อยู่ในตระกูล รถยนต์ซิตี้คาร์หรือมี
วิเคราะห์รถยนต์มือสอง
MITSUBISHI STRADA 4WD ปี 2000 Mitsubishi Strada 4WD เป็นรถเเนวออฟโรดที่น่าเล่นอีกรุ่นหนึ่งเเละถือว่าเป็นรถยนต์ที่ออกแบบมามี รูปร่างหน้าตาที่ดูใช้ได้มีเส้นสายที่ลงตัวโดยมีขุมกำลังแบบ ดีเซลขนาด 2.8 ซีซี ซึ่งถือว่าค่อนข้างแรงในขณะนั้นเเละพาลให้มีอัตราการกินน้ำมันที่พอดูเลยที เดียวที่ประมาณ 10 Km/ลิตร มีน้ำหนักตัวที่หนัก
CHEVROLET AVEO ปี 2007 เชฟโลเลต อาวีโอ่ เป็นรถยนต์นั้งขนาดเล็กเเต่คุณภาพไม่ได้เล็กตามตัวไปดว้ยโดยเป็นรุ่นที่ ถูกออกแบบมาขนาดกระทัดรัด (ไม่เล็กจนเกินไป) คุณภาพของวัสดุถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน โดยมีขุมกำลังขนาดย่อมที่ 1.4 ซีซี เน้นการประหยัดพลังงานเเละมีอัตราการกินน้ำมันที่ประมาณ 14-15 Km/ลิตร
รวมคลิปวิดีโอรถยนต์