18.3.54

น้ำมันเครื่องรถยนต์





            ระบบน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์หรือน้ำมันเครื่องรถยนต์นั้นมีความสำคัญกับระบบเครื่องยนต์ในการทำงานเป็นอย่างยิ่งเพราะทุกๆชิ้นส่วนของระบบเครื่องยนต์เมื่อมีการทำงานหมายถึงขณะทำการขับขี่รถยนต์แต่ละ่ชิ้นส่วนนั้นก็จะเกิดการเสียดสีกันอยู่ตลอดเวลาซึ่งการเสียดสีกันหรือการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนเหล่านี้ภายในเครื่องยนต์ก็จะทำให้เกิดความร้อนสะสมที่บริเวณพื้นผิวของวัสดุที่เสียดสีกันถ้าหากว่าระบบการหล่อลื่นของรถยนต์ที่เราใช้งานหรือบกพร่องหรือใช้น้ำมันเครื่องที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานแล้วหละ่ก็แน่นอนว่าอายุการใช้งานของรถยนต์ที่เรารักย่อมจะสั้นลงเกินกว่ากำหนดอย่างแน่นอนฉนั้นการหมั่นดูแลรักษาคอยตรวจตราตรวจเช็ครถยนต์น้ำมันเครื่องรถยนต์อยู่ตลอดเวลาแล้วและเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีที่ได้คุณภาพมาตรฐานแล้วหละ่ก็ก็จะสามารถช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์ไปได้อีกอย่างยาวนาน
 
น้ำมันเครื่อง มี 3 ชนิดคือ

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ 3,000-5,000 กม.
2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ 5,000-7,000 กม.
3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์ จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ 7,000-10,000 กม.



 ส่วนประกอบของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันพื้นฐาน  คือ ส่วนประกอบหลักที่สำคัญในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นสามารถหาน้ำมันพื้นฐานได้จาก 3 แหล่ง ดังนี้
1. น้ำมันพื้นฐานที่สกัดจากพืช น้ำมันประเภทนี้ไม่นิยมนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องโดยตรงเนื่องจากเสื่อม คุณภาพในการหล่อลื่นได้ง่าย เมื่อสัมผัสความร้อน
 2. น้ำมันพื้นฐานที่สกัดจากน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม น้ำมันพื้นฐานประเภทนี้มีหลายชนิด แต่ส่วนมากจะนิยมใช้น้ำมันดิบจากฐานพาราฟินิก (Paraffinic) ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นเพียงพอต่อการปกป้องเครื่องยนต์มิให้เกิด การชำรุดเสียหายได้แม้เครื่องยนต์จะทำงานที่อุณหภูมิต่ำ-สูงก็ตาม
 3. น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ (Synthetic Base Oil) น้ำมันพื้นฐานประเภทนี้นิยมใช้ผลิตเป็นน้ำมันหล่อลื่นในงานพิเศษ ผลิตขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยขบวนการทางเคมี ทำให้มีคุณสมบัติในการหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์เหนือกว่า น้ำมันพื้นฐาน 2 ชนิดแรก

สารเพิ่มคุณภาพ (Additive)
สาเหตุของการใส่สารเพิ่มคุณภาพ
  1.   เพื่อปรับค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นตามอุณหภูมิการทำงานที่แตกต่างกัน
  2.   เพื่อให้น้ำมันมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นได้สมบูรณ์ตลอดอายุของน้ำมันหล่อลื่น
  3.   เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นมีอายุการใช้งานไดนานขึ้น
  4.   เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอย่างเหมาะกับการใช้งานในแต่ละประเภท
  5.   เพื่อลดการสึกหรอและยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรเครื่องยนต์ให้นานขึ้น
  6.   เพื่อให้เครื่องจักรเครื่องยนต์มีสมรรถนะในการทำงานสูงขึ้น  

ชนิดและหน้าที่ของสารเพิ่มคุณภาพ

1. สารชะล้างเขม่า ทำหน้าที่ทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์โดยการชะล้างสิ่งสกปรกคราบตะกอนเขม่า ต่าง ๆ ออกจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์
2. สารกระจายสิ่งสกปรก ทำหน้าที่ย่อยหรือสลายสิ่งสกปรกคราบตะกอนเขม่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แขวนลอยผสมอยู่กับน้ำมันเครื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ไส้กรองน้ำมันเครื่องอุดตัน ทั้งยังป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเล็ก ๆ เหล่านี้ตกตะกอนเพื่อรอการถ่ายทิ้ง
3. สารปรับปรุงค่าดัชนีความหนืด ทำหน้าที่ช่วยรักษาค่าความหนืดของน้ำมันให้คงที่เสมอ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์จะเปลี่ยนแปลงไป
4. สารป้องกันการสึกหรอ ทำหน้าที่ช่วยลดการสึกหรอของชิ้นส่วนและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการละลายติด กันของชิ้นส่วนเมื่อชิ้นส่วนขาดการหล่อลื่นชั่วขณะหนึ่ง
5. สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำมันแปรสภาพเป็นยางเหนียว หรือน้ำมันกลายสภาพเป็นโคลน เมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัดหรือทำงานที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ นาน ๆ
6. สารป้องกันการเกิดฟอง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศในน้ำมันขณะใช้งาน
7. สารป้องกันสนิม ทำหน้าที่ป้องกันสนิมที่จะเกิดขึ้นบนผิวหน้าของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ทำด้วยเหล็กในขณะที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงาน หรือขณะเก็บรักษาเพื่อรอการใช้งานต่อไป
8. สารป้องกันการกัดกร่อนจากกรด ทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของกรดกำมะถัน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของกำมะถันที่อยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง
9. สารรับแรงกดอัดหรือกระแทก ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้ฟิล์มน้ำมันโดยสามารถรับภาระน้ำหนักได้มากขึ้น ในขณะที่ชิ้นส่วนเคลื่อนที่กระทบกันอย่างรุนแรง ฟิล์มน้ำมันจะไม่แตกตัวง่าย เช่น เกียร์และเฟืองท้าย เป็นต้น
10. สารลดจุดไหลเทของน้ำมัน ทำหน้าที่เป็นตัวให้น้ำมันที่จุดไหลเทที่อุณหภูมิต่ำลงไปกว่าเดิมอีก หรือใช้เพื่อทำให้น้ำมันสามารถใช้กับภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ไม่ทำให้น้ำมันแข็งตัว แม้จะมีอุณหภูมิต่ำหรือติดลบมาก ๆ
11. สารลดแรงเสียดทาน ทำหน้าที่ช่วยลดแรงเสียดทานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เสียดสีกันโดยการ เปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์ความฝืดของผิวชิ้นส่วนที่สัมผัสกับน้ำมัน
12. สารช่วยให้เกาะติดชิ้นส่วนได้ดี ทำหน้าที่เพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะของฟิล์มน้ำมันกับชิ้นส่วนไม่ให้หลุดลอก ออกง่ายเมื่อถูกเสียดสี เช่น การหล่อลื่นในเกียร์หรือเฟืองท้าย ซึ่งต้องอาศัยการนำพาน้ำมันด้วยการยึดเกาะไปกับฟันเฟือง เป็นต้น


ข้อควรปฏิบัติสำหรับน้ำมันเครื่อง

ระดับน้ำมันเครื่องสูงเกิน

น้ำมันเครื่องจะถูกดันผ่านแหวนลูกสูบขึ้นไปเผาไหม้กับน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีเขม่าจับภายในห้องเผาไหม้ ทำให้เครื่องเกิดการน็อค อย่างรุนแรง / น้ำมันเครื่องจะดันออกทางซีลด้านหน้าและด้านหลังของเพลาข้อเหวี่ยง ทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย / ทำให้เกิดแรงดันในห้องเครื่องสูงและจะดันไอน้ำมันเครื่องออกมาทางท่อระบายได้มาก / ทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด

ถ้าระดับน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป

ปั๊มน้ำมันเครื่องจะไม่สามารถดูดน้ำมันและส่งไปหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวภายในเครื่องอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการสึกหรออย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องพัง

เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

น้ำมันเครื่อง เปลี่ยนน้ำมันทุกๆ 5,000 กม./ 3เดือน
ไส้กรองน้ำมันเครื่องยนต์ เปลี่ยนทุกๆ 10,000 กม./ 6เดือน
ไส้กรองน้ำมันเบนซิล เปลี่ยนปีละครั้งทุกๆ 50,000 กม.
ไส้กรองอากาศ ทำความสะอาดทุก ๆ 5,000 กม. หรือ 10,000 กม. เปลี่ยนทุกๆ 20,000 กม. ทุกปีเป็นอย่างน้อย
ทำความสะอาดกรองอากาศหรือเปลี่ยนเมื่อหมดสภาพการใช้งาน
เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องพร้อมน้ำมันเครื่อง
วิเคราะห์รถใหม่
NEW TOYOTA PRIUS เป็นรถยนต์นั้งอเนกประสงค์แบบสมบูรณ์แบบโดย TOYOTA PRIUS นี้ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีพื้นฐานหรือต่อยอดมาจากรถยนต์ TOYOTA WISH แต่ TOYOTA PRIUS ได้เพิ่มการทำงานของระบบขับเคลื่อนมาเป็นแบบ HYBRID เพื่อเน้นทางด้านของการอนุรักษ์และการประหยัดพลังงานเป็นหลักแต่ในส่วนของ อัตราการขับเคลื่อนหรืออัตราการเร่งแซงไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่าง
NEW HONDA BRIO เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปรหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่ผลิตมาโดยอาศัยมาตรฐานรถยนต์ " อีโคคาร์ " เป็นเกณฑ์ในการผลิตจึงมั่นใจได้ว่าสามารถลดการใช้พลังงานหรือเผาผลาญได้ อย่างแน่นอนโดยสเปกหรือภาพโดยรวมของตัวรถเนี้ยจะเป็นรถยนต์ที่อยู่ในตระกูล รถยนต์ซิตี้คาร์หรือมี
วิเคราะห์รถยนต์มือสอง
MITSUBISHI STRADA 4WD ปี 2000 Mitsubishi Strada 4WD เป็นรถเเนวออฟโรดที่น่าเล่นอีกรุ่นหนึ่งเเละถือว่าเป็นรถยนต์ที่ออกแบบมามี รูปร่างหน้าตาที่ดูใช้ได้มีเส้นสายที่ลงตัวโดยมีขุมกำลังแบบ ดีเซลขนาด 2.8 ซีซี ซึ่งถือว่าค่อนข้างแรงในขณะนั้นเเละพาลให้มีอัตราการกินน้ำมันที่พอดูเลยที เดียวที่ประมาณ 10 Km/ลิตร มีน้ำหนักตัวที่หนัก
CHEVROLET AVEO ปี 2007 เชฟโลเลต อาวีโอ่ เป็นรถยนต์นั้งขนาดเล็กเเต่คุณภาพไม่ได้เล็กตามตัวไปดว้ยโดยเป็นรุ่นที่ ถูกออกแบบมาขนาดกระทัดรัด (ไม่เล็กจนเกินไป) คุณภาพของวัสดุถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน โดยมีขุมกำลังขนาดย่อมที่ 1.4 ซีซี เน้นการประหยัดพลังงานเเละมีอัตราการกินน้ำมันที่ประมาณ 14-15 Km/ลิตร
รวมคลิปวิดีโอรถยนต์