11.2.54

หัวเทียน..สิ่งเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้าม






      ถ้าพูดถึงการใช้งานรถยนต์โดยทั่วไปเมื่อต้องถึงเวลาเช็คสภาพรถยนต์ เรามักจะคำนึงถึงจุดสำคัญต่างๆเช่น ลมยาง,หม้อน้ำ,น้ำมันเครื่อง,เเบตเตอรี่ ฯลฯ เเต่คุณรู้ไหมว่าจะมีสักกี่คนที่จะคำนึงถึงอายุการใช้งานของหัวเทียน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนการทำงานชิ้นเล็กๆที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการทำงานของเครื่องยนต์เเล้วถ้าเกิดว่าเราใช้งานไปนานๆเเล้วขาดการดูแลเอาใจใส่ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องยนต์ในระยะยาวอย่างเเน่นอน

   เราสามารถแบ่งหัวเทียนออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
  1. หัวเทียนร้อน
  2. หัวเทียนเย็น
หัวเทียนร้อน คือ หัวเทียนที่มีการระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนไปยังฝาสูบนานมากทำให้การ ระบายความร้อนเป็นไปได้ยากมาก หัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะสมกับเครื่องยนต์ความเร็วรอบต่ำและใช้งานระยะสั้นๆ ครับ 

หัวเทียนเย็น คือ หัวเทียนที่มีการระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนไปยังฝาสูบได้รวดเร็ว หัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะสมกับการใช้งานกับเครื่องยนต์ที่ความเร็วรอบสูงหรือ การใช้งานที่มีระยะทางไกลๆ ครับ
เราจะรู้ได้ไงว่าหัวเทียนร้อน / หัวเทียนเย็น ที่หัวเทียนจะมีเบอร์บอกครับ ตามตัวอย่างครับ B K R 6 E B คือ ขนาดความโตของเกลียวและขนาดของหกเหลียม K คือ ลักษณะของโครงสร้าง R คือ ค่าความต้านทาน 6 คือ ค่าความร้อนของหัวเทียน E คือ ขนาดของความยาวเกลียว ค่าความร้อนของหัวเทียนดูไดจากตัวเลขมากจะเป็นแบบเย็น / ตัวเลขน้อยจะเป็นแบบร้อน



หัวเทียนสำหรับรถทั่วไปปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5 ประเภท
    เราสามารถตรวจสอบสภาพของหัวเทียนออกเป็นลักษณะต่างๆคือ

     1.  ถ้าหัวเทียนมีสภาพดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้บอกให้เราได้ทราบว่า ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนผสมที่มากกว่าอากาศ (ส่วนผสมหนา) ซึ่งคราบที่พบคือ ส่วนที่เหลือตกค้างของละอองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาก เกินกว่าความต้องการของเครื่องยนต์ การแก้ไขเบื้องต้นคือ ทำการปรับซ่อมของระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ใหม่

     2.  หัวเทียนมีสภาพชุ่มน้ำมันเครื่อง ลักษณะเช่นนี้คือ อาการที่บ่งบอกว่าเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ และมีการเล็ดลอดของน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สาเหตุอาจเกิดจากลูกสูบและแหวนลูกสูบเกิดการสึกหรอ กระบอกสูบ อาจมีรอยขูดขีดที่ลึกเป็นร่องบริเวณผนังกระบอกสูบหรืออาจเกิดการเสื่อมสภาพของซีลไกด์วาล์วบนฝาสูบ อาการเช่นนี้ ควรนำรถส่งให้ช่างทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุง
     3.   หัวเทียน สภาพร้อนจัดลักษณะ กระเบื้องของหัวเทียนถูกเผาจนเป็นสีขาวเงาและเขี้ยวละลาย ซึ่งหัวเทียนในสภาพนี้เขี้ยวแกนกลางเขี้ยวไฟพร้อมทั้งกระเบื้องก็ละลายด้วย เนื่องจากอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ร้อนจัดหัวเทียนไม่สามารถทนทานได้ อาการ กำลังเครื่องยนต์ตกต่ำในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงหรือบรรทุกของหนักขึ้นทางลาดชันเป็นเวลานานและเร่งเครื่องด้วยความเร็วอย่างกระทันหัน เมื่อหัวเทียนมีความร้อนสูงจัดเขี้ยวของหัวเทียนจะละลายได้ ซึ่งทำให้หัว เทียนชำรุด และอาจทำให้ลูกสูบเสียหายได้ สาเหตุ ใช้หัวเทียนไม่เหมาะสม(ชนิดร้อนเกินไป) ระบบระบายความร้อนบกพร่องตั้งไฟจุดระเบิดแก่เกินไป ตั้งอัตราส่วนผสมบางไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ดี(ออกเทนต่ำไป)

ที่มาข้อมูลจาก
http://www.geocities.com/cefiroff_club/plug.htm




วิเคราะห์รถใหม่
NEW TOYOTA PRIUS เป็นรถยนต์นั้งอเนกประสงค์แบบสมบูรณ์แบบโดย TOYOTA PRIUS นี้ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีพื้นฐานหรือต่อยอดมาจากรถยนต์ TOYOTA WISH แต่ TOYOTA PRIUS ได้เพิ่มการทำงานของระบบขับเคลื่อนมาเป็นแบบ HYBRID เพื่อเน้นทางด้านของการอนุรักษ์และการประหยัดพลังงานเป็นหลักแต่ในส่วนของ อัตราการขับเคลื่อนหรืออัตราการเร่งแซงไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่าง
NEW HONDA BRIO เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปรหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่ผลิตมาโดยอาศัยมาตรฐานรถยนต์ " อีโคคาร์ " เป็นเกณฑ์ในการผลิตจึงมั่นใจได้ว่าสามารถลดการใช้พลังงานหรือเผาผลาญได้ อย่างแน่นอนโดยสเปกหรือภาพโดยรวมของตัวรถเนี้ยจะเป็นรถยนต์ที่อยู่ในตระกูล รถยนต์ซิตี้คาร์หรือมี
วิเคราะห์รถยนต์มือสอง
MITSUBISHI STRADA 4WD ปี 2000 Mitsubishi Strada 4WD เป็นรถเเนวออฟโรดที่น่าเล่นอีกรุ่นหนึ่งเเละถือว่าเป็นรถยนต์ที่ออกแบบมามี รูปร่างหน้าตาที่ดูใช้ได้มีเส้นสายที่ลงตัวโดยมีขุมกำลังแบบ ดีเซลขนาด 2.8 ซีซี ซึ่งถือว่าค่อนข้างแรงในขณะนั้นเเละพาลให้มีอัตราการกินน้ำมันที่พอดูเลยที เดียวที่ประมาณ 10 Km/ลิตร มีน้ำหนักตัวที่หนัก
CHEVROLET AVEO ปี 2007 เชฟโลเลต อาวีโอ่ เป็นรถยนต์นั้งขนาดเล็กเเต่คุณภาพไม่ได้เล็กตามตัวไปดว้ยโดยเป็นรุ่นที่ ถูกออกแบบมาขนาดกระทัดรัด (ไม่เล็กจนเกินไป) คุณภาพของวัสดุถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน โดยมีขุมกำลังขนาดย่อมที่ 1.4 ซีซี เน้นการประหยัดพลังงานเเละมีอัตราการกินน้ำมันที่ประมาณ 14-15 Km/ลิตร
รวมคลิปวิดีโอรถยนต์

ดูบทความเก่าย้อนหลัง