เมื่อพูดถึง แอนดรอยด์ ผู้ใช้หลายคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร วันนี้เราจะมาเฉลยทุกข้อสงสัย สำหรับแอนดรอยด์ว่าคืออะไรและมีที่มาที่ไปอย่างไรจะได้ตามเทรนด์กระแส ในยุคเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนามาตราฐานเปิดสำหรับอุปกรณ์มือถือลิขสิทธิ์ของโค๊ตแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
ตั้งแต่วันที iPhone เผยโฉมอวดสายตาชาวโลก ผู้ใช้ต่างก็แห่แหนจับจองเป็นเจ้าของแก็ดเจ็ตที่แสนเซ็กซี่ของแอปเปิ้ลกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาจนทำให้มือถือน้องใหม่สามารถเกิดในตลาดได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งเบอร์หนึ่งอย่างโนเกียยังต้องหันมาเอาดีทางด้านการออกแบบที่เน้นแฟชั่นบ้างเหมือนกัน นอกจากนี้สมรภูมิสมาร์ทโฟนยังทะลุจุดเดือดขึ้นไปอีก เมื่อ Palm Pre และ Blackberry Bold เผยโฉมออกมา อย่างไรก็ตามคู่แข่งในตลาดที่ดูอาจจะเป็นม้ามึด เพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตมือถือหลายค่ายอย่าง Android ย่อมต้องมีดีมิใช่น้อย ไม่เช่นนั้นเราคงจะไม่เห็นมือถือรุ่นใหม่ๆที่ทะยอยกันออกมาใช้โอเอสตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ว่าแต่ ทำไมบริษัทเหล่านี้จึงปักใจเชื่อว่า ระบบปฏิบัติการมือถือแบบเปิดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับพวกเขา สิบเหตุผลต่อไปนี้อาจให้คำตอบกับคุณได้
มาตรฐานเปิด จุด เด่นที่แตกต่างของการเป็นโอเพ่นซอร์สของแอนดรอยด์ก็คือ การไม่ผูกติดกับมือถือของผู้ผลิตเจ้าใดเจ้าหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็น iPhone ของ Apple มาตรฐานที่ใช้ก็ต้องมาจากแอปเปิ้ลเท่านั้น รวมถึงแอพพลิเคชันที่ต้องผ่านการ approved จากทางแอปเปิ้ลอีกด้วย ซึงคำว่า”มาตรฐานเปิด”ทำให้มือถือแอนดรอยด์เปิดกว้างสำหรับสิ่งใหม่ๆได้มากกว่า แอพพลิเคชันที่พัฒนาได้ง่ายกว่าเพราะมีข้อมูลให้ค้นคว้ามากมาย รวมถึงการพัฒนาอุปกรณ์เสริมต่างๆ อีกด้วย
* แอพพลิเคชัน มากกว่า แม้วันนี้ iPhone จะเป็นจ้าวแห่งแอพพลิเคชันบนมือถือแต่เชือว่าด้วยความเป็นมาตรฐานเปิดจะทำให้มีนักพัฒนามากมายจากทั่วโลกให้ความสนใจที่จะทำแอพฯบนแอนดรอยด์ซึ่งผลที่ตามมาก็คือผู้ใช้จะมีทางเลือกในการใช้แอพฯมากขึ้นโอกาสเติบโตของแอพพลิเคชันบนนี้จึงไม่มีข้อจำกัดเหมือน iPhone ที่ต้องผ่านการพิจารณาจาก Apple เท่านั้น
ระบบรักษาความ ปลอดภัย เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นประเด็นใหญ่สำหรับการใช้มือถือฉลาดๆ อย่างสมาร์ทโฟน เพราะมันคือคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมโทรศัพท์ดีๆนั่นเองซึ่งในสภาพแวดล้อมของ Open Source เรื่องของการอัพเดตถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดโดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยซึ่งหากสังเกตจะพบว่าเวลาที่มีการพบช่องโหว่ชุมชนโอเพ่นซอร์สจะจัดทำอัพเดตออกมาอย่างรวดเร็วแตกต่างจากองค์กรธุรกิจที่จะต้องมีการตรวจสอบพิจารณาก่อนที่จะเริ่มดำเนินการแก้ไข
* ปรับแต่งการทำงานได้อย่าง ยืดหยุ่น สำหรับผู้ใช้ระดับแอดแวนซ์ ความต้องการในความสามารถของการปรับแต่งการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นจะอยู่ใน อันดับต้นๆ ในขณะที่ iPhone จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสปรับแต่งการทำงานน้อยมาก แม้กระทั่งอินเตอร์เฟซของการทำงาน ในขณะที่โอเอสมือถือทีเป็นโอเพ่นซอร์สจะมีช่องทางในการปรับแต่งการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และความถนัดในกาใช้งานของผู้ใช้ได้มากกว่า
* ความ สามารถในการเชื่อมต่อ ประเด็นนี้ไม่ได้หมายถึงการเชื่อมต่อกับ เครือข่าย 3G, EDGE หรือ WiFi แต่เป็นเรื่องของการเชื่อมต่อการทำงานร่วม (sync) กับพีซี หากเป็น iPhone ทุกอย่างต้องทำผ่าน iTunes ความพยายามที่จะทำอะไรนอกแอพพลิเคชันตัวนี้ อาจทำให้ต้องเผชิญกับสิ่งไม่คาดฝัน ในขณะที่มือถือที่ใช้โอเอสระบบเปิด คอมพิวเตอร์จะมองเห็นเป็นสตอเรจตัวหนึ่งที่สามารถเข้าไปจัดการได้อย่างง่าย ดาย
* ราคา การใช้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการให้กับสมาร์ทโฟนจะทำให้ต้นทุนของมือถือต่ำลงกว่าใช้โอเอสระบบปิดที่ต้องเสียค่าไลเซนส์ ดังนั้นราคาของมือถือแอนดรอยด์จึงมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าสมาร์ทโฟนของเจ้า อื่นๆ อย่างแน่นอน
ความสามารถในการทำหลายงานพร้อมกัน แอนดรอยด์จะทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดแอพฯหลายตัวทำงานได้พรัอมกันอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีการขัดแย้งการทำงานระหว่างกัน โดยเฉพาะในขณะทีต้องใช้ฟังก์ชันโทรศัพท์ไปพร้อมๆ กับการรันแอพฯตัวอื่นๆ
* Push Gmail แอพพลิเคชันบน Google ส่วนใหญ่จะทำงานร่วมกับแอนดรอยด์ได้ราวกับเป็นเนื้อเดียว การใช้บริการ Gmail บนมือถือแอนดรอยด์จึงง่ายมาก ผู้ใช้ไม่ต้องเปิดแอพฯ เพื่อรอโหลด Gmail เหมือนสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ เพราะเมล์ไคลเอ็นต์อยู่ในระบบปฏิบัติการ พอเปิดแอพฯปุ๊บก็รับเมล์ได้ทันที
* นักพัฒนา ข้อนี้ แทบไม่ต้องอธิบายอะไรมาก นักพัฒนากลุ่มโอเพ่นซอร์สมีอยู่ทั่วโลก ต่างพร้อมที่จะพัฒนาสร้างสรรค์ แอพพลิเคชันใหม่ๆให้เกิดขึ้นตลอดเวลาโดยไม่ย่ำอยู่กับที่และที่สำคัญคอยรับฟังเสียงเรียกร้องของความต้องการจากผู้ใช้เป็นหลักในการ พัฒนาสร้างสรรค์แอพฯใหม่ๆ ซึ่งมาตรฐานเปิดของ Android จะทำให้นักพัฒนาอยากทำให้มือถือทำอะไรได้มากกว่าที่เราได้ใช้กันอยู่ทุก วันนี้อย่างแน่นอนไม่ต้องสงสัย
* ความคิดสร้างสรรค์ ประเด็น นี้จะเป็นผลต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว เนื่องจากความเป็นมาตรฐานเปิด ทำให้ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์เชื่อว่าแอพฯที่เราไม่เคยคาดคิดว่ามันจะอยู่ในมือถือได้ จะมีให้เห็นเมื่อสมาร์ทโฟนที่ใช้แอนดรอยด์แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆตัวอย่างเช่น การมีเว็บเซิร์ฟเวอร์บนมือถือ หรือ CMS เก่งๆตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ Biometric ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แล้ว มันยังช่วยให้บริษัทผู้ผลิตมือถือมีโอกาสพัฒนาต่อยอดได้อีกมากมายอีกด้วย
www.isnhotnews.com
มี่มาข้อมูลจาก
www.isnhotnews.com