โดยปกติรถยนต์ที่เราใช้งานกันนั้นจะมีระบบบังคับเลี้ยวหรือพวงมาลัยแบบมีระบบผ่อนเเรง (ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์) เพื่อช่วยให้สามารถบังคับรถได้อย่างง่ายดายและเบาแรงซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากเราใช้งานไปนานๆหรือรถของเราเริ่มเก่าลงระบบต่างๆเหล่านี้เเน่นอนก็ย่อมจะเริ่มเสื่อมสภาพตามลงเช่นกัน โดยจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับระดับการใช้งานของผู้ใช้ด้วยเช่นกันหรือจะเรียกได้ว่าอาจจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้รถด้วยว่ามีพฤติกรรมอย่างไรที่อาจจะส่งผลเสียถึงการทำงานของระบบบังคับเลี้ยวหรือระบบพวงมาลัยได้เช่น การบังคับพวงมาลัยให้เลี้ยวกระทันหันในขณะความเร็วของตัวรถยังสูงอยู่หรือการหักพวงมาลัยแบบสุดวงบังคับเลี้ยวบ่อยๆนั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุให้พวงมาลัยเิกิดอาการสึกหรอหรือเกิดการหลวมหรือคลอนบริเวณข้อต่อหรือคันชักได้เป็นธรรมดาซึ่งการเเก้ไขเบื้องต้นก็คือต้องหมั่นนำรถเข้าตรวจเช็คเป็นประจำเผื่อว่าถ้ามีอาการผิดปกติหรือตรวจพบสาเหตุของปัญหาจะได้หาทางแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงทีก่อนที่ผู้ใช้งานจะนำรถออกไปขับขี่ตามท้องถนนเป็นปกติ
ระบบบังคับเลี้ยวในรถยนต์หรือจะเรียกว่าระบบพวงมาลัยก็ได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. ระบบพวงมาลัยแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Power Steering)
2. ระบบพวงมาลัยแบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)
นั้นการใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรถยนต์แต่ละ่รุ่นที่โรงงานได้ออกแบบมาตั้งแต่แรก โดยที่อาการของพวงมาลัยที่ทำงานหนักผิดปกตินั้นอาจมีสาเหตุมาจาก
1. เเรงดันลมยางอ่อนกว่าปกติ หรือกรณีเปลี่ยนล้อคู่หน้าใหม่เพื่อเพิ่มความกว้างของหน้ายางให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นซึ่งจะทำให้หน้ายางสัมผัสกับถนนมากขึ้นกว่ารุ่นเดิม เป็นผลทำให้พวงมาลัยหนักผิดปกติ
2. ศูนย์ล้อของรถผิดไปจากมาตรฐานของโรงงาน
3. ท่อทางเดินน้ำมันเพาเวอร์และวาล์วน้ำมัน เกิดอุดตันจากสิ่งสกปรกที่ปะปนมากับน้ำมันอาจทำให้ตัวปั้มเกิดสึกหรอ และอายุการใช้งานสั้นลง
4. ระดับน้ำมันเพาเวอร์ในกระปุกต่ำกว่าขีดต่ำสุด (Lower Level) ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึมของน้ำมันเพาเวอร์ ตามชิ้นสว่นต่างๆ เช่น ท่อน้ำมันแรงดันสูง,ท่อน้ำมันแรงดันต่ำ,ปั้มพวงมาลัยเพาเวอร์,แร็คพวงมาลัย,เป็นต้น โดยสังเกตไ้ด้จากรอยน้ำมันที่หยดลงบนพื้นที่จอดหรือให้สังเกตจากเสียงดังขณะเลี้ยวหรือการหมุนพวงมาลัยวึ่งหากเกิดจากน้ำมันเพาเวอร์พร่องเกินขีดที่กำหนดก็มีโอกาสที่จะทำให้อากาศเข้าสู่ระบบไฮดรอลิคในกรณีเช่นนี้ อาจเกิดความเสียหายต่อปั้มพวงมาลัยเพาเวอร์ได้
5. การใช้น้ำมันเพาเวอร์ผิดประเภท ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยหนัก เพราะลักษณะเฉพาะของระบบบังคับเลี้ยวรถยนต์แตกต่างกันดังนั้นน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ในรถยนต์แต่ละ่รุ่นแต่ละ่ยี่ห้อนั้นจึงไม่เหมือนกันและไม่สามารถใช้ชนิดเดียวกันได้ถึงแม้ข้างกระป๋องจะเขียนว่าเป็นน้ำมันเพาเวอร์เหมือนกัน
6. ข้อต่ออ่อนบนแกนพวงมาลัยเกิดเสื่อมสภาพหรือเสียหายรวมถึงระบบชว่งล่าง อาจเกิดได้กับรถยนต์ที่ขาดการบำรุงรักษาและไม่ค่อยได้รับการตรวจเช็ค ทำให้พวงมาลัยหนัก พวงมาลัยไม่ตีกลับ
7. มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ (เฉพาะรุ่นที่เป็นพวงมาลัยไฟฟ้า EPS) หากตรวจสอบพบว่ามีสัญลักษณ์ไฟเตือนพวงมาลัยไฟฟ้า(สีส้ม) ติดสว่างขึ้นบนมาตรวัดในขณะขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมรถ เนื่องจากพวงมาลัยจะหนักกว่าปกติ