ระบบเบรกโดยทั่วไปถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ดิสก์เบรก จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ (จานโรเตอร์) , ผ้าดิสก์เบรก , ก้ามปูและลูกสูบขณะทำงานเมื่อดิสก์เบรกหมุนไปกับล้อไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิดทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรกจะลดลง) พร้อมทั้งช่วยให้เบรกที่เปียกน้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามขนาดของจานเบรกก็มีข้อจำกัดเนื่องด้วยขนาดของขอบล้อทำให้ขนาดของผ้าดิสก์เบรกมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าวก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมันเบรกให้มากขึ้นดิสก์เบรกจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรกของเบรกดรัมในขณะที่ดิสก์เบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า
ระบบดีสก์เบรก |
2. ดรัมเบรก ที่มักใช้กันมี 2 แบบคือ "แบบลูกสูบคู่" และ"แบบลูกสูบเดี่ยว" เมื่อเหยียบเบรกคันเบรกจะมีกลไกไปกดที่แม่ปั้มเบรกดันน้ำมันเบรกมาที่กระบอกน้ำมันเบรกน้ำมันเบรกที่แรงดันนี้จะมากระทำกับลูกสูบในกระบอกเบรกให้เคลื่อนที่ไปกดฝักเบรกเพื่อไปกดจานเบรกครัม ทำให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผ้าเบรกของฝักเบรกกับจานเบรก โดยผ้าเบรกจะต้องมีความทนทานต่อความร้อนและการสึกหรอ และต้องมีค่าสัมประสิทธิ์ความฝืดสูงค่าสัมประสิทธิ์นี้ต้องไม่มีอิทธิพลต่อ การขึ้น ๆลง ๆ ของอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติผ้าเบรกทำจากโลหะไฟเบอร์ผสมด้วยทองเหลือง ตะกั่วพลาสติก ฯลฯ และขึ้นรูปภายใต้ความร้อน
สาเหตุของเบรกเสีย หรือ อายุสั้น
- หมดอายุการใช้งาน (เบรกหมด)
- ขาดการดูแลรักษา (น้ำมันเบรก, การทำความสะอาดเบรก, กระบอกเบรก และลูกยาง)
- อุปนิสัยของผู้ขับขี่ มีการเหยียบเบรกบ่อยเกินความจำเป็น เบรกกะทันหัน
- ระบบเบรกขาดการหล่อลื่น
- น้ำหนักบรรทุกมากเกินไป ทำให้เบรกถูกใช้งานอย่างหนัก
- ผิวหน้าจานเบรกไม่เรียบ ทำให้เบรกสึกไม่เท่ากัน
- สภาพภูมิประเทศ ที่เป็นทางลาดชัน ทำให้เบรกถูกใช้งานมากกว่าปกติ
- สปริงเบรกหรือระบบไฮดรอลิคของแม่ปั๊มเบรกบกพร่อง ทำให้ผิวหน้าเบรกเสียดสีกับจานเบรกตลอดเวลา
- ลูกสูบเบรกติดไม่คืนตัว ทำให้เบรกเสียดสีกับจานเบรกตลอดเวลา ทำให้เกิดความร้อนแฝงในน้ำมันเบรก และเกิดสนิมในระบบ
- สปริงเบรกมือหรือสายเบรกมือเสื่อมสภาพทำให้เบรกเสียดสีกับจาน
การตรวจระบบเบรก
• จุดสำคัญในการตรวจเช็คระบบเบรก
1. น้ำมันเบรก จุดสำคัญที่มักถูกมองข้าม น้ำมันเบรกมีคุณสมบัติดูดความชื้นไว้ได้ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกต่ำลง และก่อให้เกิดสนิม
2. ระบบดิสก์เบรก ล้างทำความสะอาด สลักเลื่อน หัวไล่ลม หล่อลื่นด้วยจาระบีเพื่อป้องกันสนิม และการตายตัวของสลัก ตรวจสอบลูกสูบดิสก์เบรกให้ทำงานเป็นปกติ ตรวจสภาพยางดิสเบรก และยางกันฝุ่นว่าไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพ
3. ระบบดรัมเบรก ล้างทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ตรวจสภาพยางกันฝุ่นที่ล้อ และกระบอกเบรก ระบบเบรกมือ สายเบรกมือควรได้รับการหล่อลื่นด้วยจาระบี เพื่อให้คล่องตัว
4. แม่ปั๊มเบรก ควรตรวจสภาพ ทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง และสนิม
• การตรวจระบบเบรก หลังฤดูฝน มีความจำเป็นมาก เนื่องจากหลังการผ่านการลุยน้ำ มักจะพอาการผิดปกติกับระบบเบรกของรถยนต์ ดังนี้
1. ระบบเบรกฝืด ไม่คล่องตัว เกิดจากความสกปรกของดินโคลนที่ติดกับก้านสลักเลื่อนดิสเบรก และภายในจานเบรก ซึ่งการล้างรถโดยปกติ ไม่สามารถทำได้ทั่วถึง
2. ชิ้นส่วนเสื่อมเนื่องจากเกิดสนิม เช่น ลูกสูบเบรก แม่ปั๊มเบรก และกระบอกเบรก
3. เบรกจม เกิดจากความชื้นเข้าไปปะปนกับน้ำมันเบรก ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลงจากปกติ เมื่อเกิดความร้อนจากการเบรก น้ำมันเบรกจึงเดือดเป็นฟองได้ง่าย เมื่อฟองเข้าสู่ระบบเบรกจึงเกิดอาการเบรกจม
4. การเสื่อมสภาพของลูกยางเบรกหรือยางกันฝุ่น เกิดจากการเปลี่ยนสภาพอากาศมีผลให้น้ำมันเบรกรั่วซึม
ข้อควรระวังและการบำรุงรักษาระบบเบรก
1. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุก ๆ 25,000 กิโลเมตร
2. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่ถ่ายออกแล้วกลับมาใช้ใหม่
3. ถ้าน้ำมันเบรกหกรถสีให้รีบล้างออกทันที4. การไล่ลมเบรกต้องแน่ใจว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบรกของรถรุ่นนั้นดี จึงจะสามารถปฏิบัติการไล่ลมได้5. ห้ามใช้น้ำมันเบรกแทนน้ำมันหล่อลื่น หรือจาระบีโดยเด็ดขาด
6. น้ำมันเบรกที่ทำจากน้ำมันแร่ สามารถใช้กับรถบางยี่ห้อหรือตามที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดเท่านั้น7. น้ำมันเบรกที่ผลิตจากสารเคมีชนิดเดียวกัน มีมาตรฐาน SAE หรือ DOT ระดับเดียวกัน สามารถรวมกันได้8. จาระบีที่ใช้ทาซีลยางในระบบเบรก ต้องทำมาจากน้ำมันพืช (Vegetable Oil) เท่านั้น
9. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่มีมาตรฐานและสารที่นำมาผลิตต่างชนิดกันผสมกัน
ข้อมูลประกอบจาก
www.b-quik.com